เตือนนักช้อปออนไลน์ระวังภัยจากเหล่าแฮคเกอร์ช่วงเทศกาลคริสต์มาส

ช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ใกล้จะถึงนี้ บรรดาเหล่านักช้อปทุกหนทุกแห่งทั่วโลกต่างก็กำลังวุ่นวายกับการเตรียมซื้อของขวัญให้กับคนสำคัญที่อยู่ในลิสต์รายชื่อของพวกเขา ในขณะที่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าต่างๆ ก็ได้รับประโยชน์จากยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้ แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามหาผลประโยชน์และรายได้จากเทศกาลนี้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ “อาชญากรคอมพิวเตอร์”
เป็นที่รู้กันดีว่าอัตราการแพร่เชื้อมัลแวร์จะเพิ่มขึ้นระหว่างช่วงปลายปี จากผลการสำรวจภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บของศูนย์วิจัยเทรนด์แล็ปส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ พบว่า อัตราการแพร่เชื้อมัลแวร์ทั่วโลกนับจากปี 2550 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 เท่าในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ, เยอรมัน และญี่ปุ่น ในปัจจุบันข้อมูลของปี 2551 ล่าสุด แสดงให้เห็นในลักษณะเช่นเดียวกัน คือพบการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นมากในช่วงปลายปีนี้

จริงๆ แล้วการเพิ่มขึ้นของมัลแวร์ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ว่าเนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าหรือซื้อของขวัญสำหรับคนพิเศษในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของทุกปี นั่นหมายถึงว่าพวกเขากำลังมองหาข้อมูล และประเภทของสินค้าที่จะซื้อ การต่อรองราคา เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่จะแสวงหาผลประโยชน์และรายได้ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้ได้

เป้าหมายของการโจมตีจะเป็นเหล่านักช้อปปิ้งที่เลือกรูปแบบใหม่ในการซื้อสินค้า โดยพบว่าเมื่อปีที่แล้วเหล่าอาชญากรคอมพิวเตอร์จะใช้วิธีวางกับดักล่อเหยื่อไว้ที่เว็บไซต์ Google ซึ่งเป็นผู้นำด้านการค้นหาข้อมูลสำหรับการเลือกซื้อของขวัญในช่วงคริสมาสต์ โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับของขวัญเป็น TROJ_ZLOB.ERT ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพบเทคนิคในรูปแบบเดียวกันนี้ถูกนำมาใช้ช่วงเทศกาลฮาโลวีนมาแล้ว โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะเจอกลลวงของมัลแวร์ Mal_FakeAV6

เหล่านักช้อปปิ้งออนไลน์ล้วนมีความเสี่ยงสูง เพราะเป็นการซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์ที่ไม่ได้มีการแสดงตัวตนของผู้ซื้อและผู้ขายเหมือนการซื้อขายสินค้าแบบปกติที่เห็นหน้ากัน และเหล่านักช้อปปิ้งออนไลน์ยังต้องกังวลในเรื่องของการชำระสินค้าแบบออนไลน์ และการจัดส่งสินค้าด้วย มันไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจหากจะพบว่าคุณอาจจะตกเป็นเหยื่อของเหล่าอาชญากรคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งเว็บไซต์ PayPal หนึ่งในผู้รับชำระสินค้าและบริการออนไลน์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดพบว่าเว็บไซต์ของตัวเองก็ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากฟิชชิ่งหลายครั้ง

แล้วพวกมัลแวร์แพร่กระจายเชื้อร้ายอย่างไร? คำตอบคือ เชื้อร้าย ZBOT ของคีย์ล็อกเกอร์จะถูกแพร่กระจายผ่านทางอีเมล โดยจะอ้างว่าผู้ใช้งานหรือเจ้าของอีเมลยังไม่ได้รับแพ็คเกจสินค้าให้ดูไฟล์เอกสารที่แนบมาซึ่งดูเหมือนว่าเป็นใบสั่งซื้อสินค้า แต่จริงๆ แล้วมีมัลแวร์ติดมาด้วย
ดังนั้น พวกเราจะคาดหวังอะไรได้จากช่วงเทศกาลวันหยุดที่กำลังจะมาถึง เหตุการณ์เหล่านี้มักจะเกิดขึ้น

ความคิดเห็น